กินของสุกๆดิบๆ.....มีมากกว่าพยาธิ
อาหารสุกๆ ดิบๆ หลากเมนูที่ชื่นชอบโปรดปราน บ่อยครั้งมีข่าวความเคลื่อนไหวให้ติดตามถึงความอันตรายการเจ็บป่วย ทั้งอาการอาหารเป็นพิษ ท้องเสีย ท้องร่วง อีกทั้งการบริโภคอาหารกึ่งสุกกึ่งดิบ ยังมีความเสี่ยงต่อโรคพยาธิต่างๆ ฯลฯ โดยบางรายอาจมีอาการรุนแรงถึงชีวิตและยิ่งฤดูร้อนอากาศอบอ้าวที่เริ่มสัมผัสได้แล้วยังมีความเสี่ยงต่อโรคทางเดินอาหาร
การบริโภคอาหารถูกสุขอนามัยปรุงสุกสะอาดสดใหม่ รู้เข้าใจในวิธีการเก็บรักษาอาหารยังมีส่วนสำคัญช่วยสร้างเสริมสุขภาพหลีกไกลจากความเจ็บป่วย อ.นพ.ปริย พรรณเชษฐ์ ภาควิชาอายุรศาสตร์ หน่วยโภชนวิทยาและชีวเคมีทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดีให้ความรู้ว่า โรคที่มาจากการติดเชื้อทางอาหารมีทั้งพวกเชื้อแบคทีเรีย เชื้อไวรัส รวมทั้งสารพิษที่สร้างจากเชื้อพวกนี้ อย่างที่พบบ่อยเชื้อแบคทีเรียซึ่งทำให้มีไข้ ท้องเสีย ปวดท้อง ฯลฯ เชื้อโรคพวกนี้มีอยู่ทั้งในลำไส้ของสัตว์ปีก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม อีกทั้ง ในอาหารทะเลพวกหอยหลายชนิด ฯลฯ ดังนั้นหากนำมารับประทานนำไปทำอาหารโดยไม่สุก ไม่สะอาดก็จะมีความเสี่ยงต่อการได้รับเชื้อแบคทีเรียและเชื้อไวรัส
"อาหารที่ปรุงไม่สุกแน่นอนว่าย่อมนำมาซึ่งความเจ็บป่วย ทีนี้พอเข้าไปในร่างกายก็ขึ้นอยู่กับระยะเวลา รวมทั้ง จำนวนเชื้อโรคที่เข้าไปร่วมด้วย ส่วนใหญ่เชื้อจะเข้าไปฟักตัวเป็นชั่วโมงหรือทั้งวันทั้งนี้ขึ้นอยู่กับจำนวนเชื้อที่ได้รับเข้าไป ความรุนแรงของเชื้อนั้นๆ ขึ้นอยู่กับสภาวะของคนไข้ที่รับเชื้อเข้าไป อย่างเช่น เด็ก ผู้สูงอายุ สตรีตั้งครรภ์ มีโอกาสเป็นรุนแรง มากกว่าคนปกติ อีกทั้งผู้ที่ภูมิคุ้มกันต่ำ อย่าง ผู้ที่เป็นมะเร็งหรือเป็นโรคเลือด ก็มีโอกาสเป็นได้เยอะกว่า"
อาการที่ปรากฏจะคล้าย กันคือ ปวดท้อง มีไข้ คลื่นไส้อาเจียน ท้องเสีย ส่วนใหญ่เชื้อพวกนี้มักจะหายเองได้ใน 2-3 วัน เว้นคนไข้ที่ภูมิคุ้มกันต่ำอาจจะเสียน้ำ เสียเกลือแร่ อาจรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้
การดูแลสุขภาพจึงควรรับประทานอาหารที่สะอาดปรุงสุก หลีกเลี่ยงการบริโภคอาหารกึ่งสุกกึ่งดิบ อย่างในต่างประเทศอาหารสุกจะมีแท่งวัดอุณหภูมิ ปักลงไปในเนื้ออุณหภูมิต้องเกิน 78 องศาเซลเซียสถึงจะปลอดภัย ขณะที่ด้านนอกต้องเกิน 100 องศาเซลเซียสและก่อนการปรุงอาหารต้องล้างให้สะอาด ทั้งเนื้อสัตว์ ผักและผลไม้ ในการล้างก็ต้องล้างแยกกัน การใช้เขียง ใช้มีด ฯลฯ หั่นแล้วก็ต้องล้างทำความสะอาด เป็นต้น
อาหารที่ปรุงสุกเมื่อตั้งให้เย็นแล้วควรเก็บใส่ตู้เย็นภายใน 4 ชม. หากตั้งวางไว้เชื้อโรคอาจจะเพิ่มจำนวนหรืออาจจะสร้างสารพิษขึ้นมาในช่วงนั้นได้ การเก็บควรแยกเป็นภาชนะเล็กๆ จะช่วยให้เย็นเร็วขึ้น การรับประทานก็ควรนำมาอุ่นซึ่งขณะการอุ่นอาหารควรทำให้เดือดไม่ใช่แค่ทำให้ร้อน ส่วนพวก ผัก ผลไม้ ควรล้างให้น้ำไหลผ่านชะล้างเชื้อโรค
นอกจากเชื้อแบคทีเรีย ไวรัสที่มากับอาหารที่ปรุงไม่สุก พยาธิ ที่อยู่ในดินที่ติดมากับผัก สัตว์รวมทั้งหากสัมผัสขุดจับดินที่มีพยาธิโดยไม่ล้างมือให้สะอาด ก็อาจจะติดเข้าไปในร่างกาย ติดกับอาหารที่รับประทาน อย่าง พยาธิกล้ามเนื้อ หากเข้าสู่ร่างกายจะไปฝังตามกล้ามเนื้อ พวกนี้ติดมากับพวกหมู กระรอก กระแต หนู
นอกจากนี้ยังมีพยาธิตัวจี๊ด ซึ่งจะไชเข้าไปตามผิวหนัง ก็จะมีอาการคัน พวกนี้จะอยู่ในพวกไรน้ำซึ่งกุ้ง ปู ปลา พวกนี้จะกินไรน้ำและหากกินกุ้งสุกๆ ดิบๆ ปลาดุก ปลาช่อน ปลาไหล กบ เขียด ฯลฯ ที่ปรุงไม่สุกก็มีโอกาสพยาธิเข้าไปในร่างกายได้ พยาธิใบไม้ในตับ ส่วนใหญ่พบทางอีสานอยู่ในพวกหอย ปลาที่นำมาทำปลาร้า ปลาส้ม ปลาก้อย พอไม่สุกเมื่อนำมาทานพยาธิพวกนี้ก็จะไปอยู่ที่ทางเดินน้ำดี เป็นสาเหตุทำให้เกิดมะเร็งทางท่อน้ำดี อาการที่พบ ก็จะมีตัวเหลือง ตาเหลือง ซึ่งถึงตอนนั้นอาจจะช้าเกินการรักษา
"การทำให้สุกสะอาดจึงเป็นการตัดวงจรก่อนเกิดโรคซึ่งโดยมากมักละเลยมองข้ามกันไป บางคนอาจโชคดีก็ไม่เกิดอะไร แต่บางคนโชคร้ายหลีกไม่พ้นความเจ็บป่วยเกิดขึ้นมา ส่วนในความรุนแรงของเชื้อโรคตัวนั้นขึ้นอยู่กับภูมิต้านทานของแต่ละคนที่ได้รับเชื้อเข้าไป เชื้อแต่ละชนิดมีความรุนแรงแตกต่างกัน แต่ที่ดีที่สุดควรเลี่ยงอาหารสุกๆ ดิบๆ"
อย่างที่กล่าวมาการปรุงไม่สุกหากทิ้งไว้ข้างนอกนานเชื้อต่างๆ จะเจริญเติบโตในคำว่า สุก หากเป็นอาหารประเภท แกง ต้องเดือดอย่างน้อย 5 นาที ขณะที่อาหารปิ้งย่าง ไม่ควรที่จะมีเนื้อแดงและในการสังเกตดูแลตนเองหากเกิดการท้องเสีย อาเจียนต่อเนื่อง มีไข้ขึ้นควรรีบไปโรงพยาบาลพบแพทย์ แต่ที่เป็นอันตรายระยะยาวต่างจากพวกแบคทีเรีย ไวรัส หากเป็นพวกพยาธิส่วนใหญ่จะเข้าไปอยู่ในตัวจนกระทั่งแพร่กระจายรบกวน การทำงานของร่างกาย ส่วนพยาธิตัวกลมชนิดอื่นมักจะเข้าไปอาศัยอยู่ในลำไส้ทำให้เป็นโรคขาดอาหาร เป็นโรคท้องเสียเรื้อรังได้ ฯลฯ
ก่อนสายเกินแก้ไขการรู้เข้าใจในการบริโภคจึงเป็นสิ่งสำคัญและเมื่อทราบอันตรายการบริโภคอาหารสุกๆ ดิบๆ จึงควรเพิ่มความระมัดระวัง และไม่ว่าจะเป็นอาหารประเภทใดการปรุงสุกสะอาดเข้าไว้ ล้วนช่วยสร้างความปลอดภัยส่งผลดีต่อสุขภาพได้
การบริโภคอาหารถูกสุขอนามัยปรุงสุกสะอาดสดใหม่ รู้เข้าใจในวิธีการเก็บรักษาอาหารยังมีส่วนสำคัญช่วยสร้างเสริมสุขภาพหลีกไกลจากความเจ็บป่วย อ.นพ.ปริย พรรณเชษฐ์ ภาควิชาอายุรศาสตร์ หน่วยโภชนวิทยาและชีวเคมีทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดีให้ความรู้ว่า โรคที่มาจากการติดเชื้อทางอาหารมีทั้งพวกเชื้อแบคทีเรีย เชื้อไวรัส รวมทั้งสารพิษที่สร้างจากเชื้อพวกนี้ อย่างที่พบบ่อยเชื้อแบคทีเรียซึ่งทำให้มีไข้ ท้องเสีย ปวดท้อง ฯลฯ เชื้อโรคพวกนี้มีอยู่ทั้งในลำไส้ของสัตว์ปีก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม อีกทั้ง ในอาหารทะเลพวกหอยหลายชนิด ฯลฯ ดังนั้นหากนำมารับประทานนำไปทำอาหารโดยไม่สุก ไม่สะอาดก็จะมีความเสี่ยงต่อการได้รับเชื้อแบคทีเรียและเชื้อไวรัส
"อาหารที่ปรุงไม่สุกแน่นอนว่าย่อมนำมาซึ่งความเจ็บป่วย ทีนี้พอเข้าไปในร่างกายก็ขึ้นอยู่กับระยะเวลา รวมทั้ง จำนวนเชื้อโรคที่เข้าไปร่วมด้วย ส่วนใหญ่เชื้อจะเข้าไปฟักตัวเป็นชั่วโมงหรือทั้งวันทั้งนี้ขึ้นอยู่กับจำนวนเชื้อที่ได้รับเข้าไป ความรุนแรงของเชื้อนั้นๆ ขึ้นอยู่กับสภาวะของคนไข้ที่รับเชื้อเข้าไป อย่างเช่น เด็ก ผู้สูงอายุ สตรีตั้งครรภ์ มีโอกาสเป็นรุนแรง มากกว่าคนปกติ อีกทั้งผู้ที่ภูมิคุ้มกันต่ำ อย่าง ผู้ที่เป็นมะเร็งหรือเป็นโรคเลือด ก็มีโอกาสเป็นได้เยอะกว่า"
อาการที่ปรากฏจะคล้าย กันคือ ปวดท้อง มีไข้ คลื่นไส้อาเจียน ท้องเสีย ส่วนใหญ่เชื้อพวกนี้มักจะหายเองได้ใน 2-3 วัน เว้นคนไข้ที่ภูมิคุ้มกันต่ำอาจจะเสียน้ำ เสียเกลือแร่ อาจรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้
การดูแลสุขภาพจึงควรรับประทานอาหารที่สะอาดปรุงสุก หลีกเลี่ยงการบริโภคอาหารกึ่งสุกกึ่งดิบ อย่างในต่างประเทศอาหารสุกจะมีแท่งวัดอุณหภูมิ ปักลงไปในเนื้ออุณหภูมิต้องเกิน 78 องศาเซลเซียสถึงจะปลอดภัย ขณะที่ด้านนอกต้องเกิน 100 องศาเซลเซียสและก่อนการปรุงอาหารต้องล้างให้สะอาด ทั้งเนื้อสัตว์ ผักและผลไม้ ในการล้างก็ต้องล้างแยกกัน การใช้เขียง ใช้มีด ฯลฯ หั่นแล้วก็ต้องล้างทำความสะอาด เป็นต้น
อาหารที่ปรุงสุกเมื่อตั้งให้เย็นแล้วควรเก็บใส่ตู้เย็นภายใน 4 ชม. หากตั้งวางไว้เชื้อโรคอาจจะเพิ่มจำนวนหรืออาจจะสร้างสารพิษขึ้นมาในช่วงนั้นได้ การเก็บควรแยกเป็นภาชนะเล็กๆ จะช่วยให้เย็นเร็วขึ้น การรับประทานก็ควรนำมาอุ่นซึ่งขณะการอุ่นอาหารควรทำให้เดือดไม่ใช่แค่ทำให้ร้อน ส่วนพวก ผัก ผลไม้ ควรล้างให้น้ำไหลผ่านชะล้างเชื้อโรค
นอกจากเชื้อแบคทีเรีย ไวรัสที่มากับอาหารที่ปรุงไม่สุก พยาธิ ที่อยู่ในดินที่ติดมากับผัก สัตว์รวมทั้งหากสัมผัสขุดจับดินที่มีพยาธิโดยไม่ล้างมือให้สะอาด ก็อาจจะติดเข้าไปในร่างกาย ติดกับอาหารที่รับประทาน อย่าง พยาธิกล้ามเนื้อ หากเข้าสู่ร่างกายจะไปฝังตามกล้ามเนื้อ พวกนี้ติดมากับพวกหมู กระรอก กระแต หนู
นอกจากนี้ยังมีพยาธิตัวจี๊ด ซึ่งจะไชเข้าไปตามผิวหนัง ก็จะมีอาการคัน พวกนี้จะอยู่ในพวกไรน้ำซึ่งกุ้ง ปู ปลา พวกนี้จะกินไรน้ำและหากกินกุ้งสุกๆ ดิบๆ ปลาดุก ปลาช่อน ปลาไหล กบ เขียด ฯลฯ ที่ปรุงไม่สุกก็มีโอกาสพยาธิเข้าไปในร่างกายได้ พยาธิใบไม้ในตับ ส่วนใหญ่พบทางอีสานอยู่ในพวกหอย ปลาที่นำมาทำปลาร้า ปลาส้ม ปลาก้อย พอไม่สุกเมื่อนำมาทานพยาธิพวกนี้ก็จะไปอยู่ที่ทางเดินน้ำดี เป็นสาเหตุทำให้เกิดมะเร็งทางท่อน้ำดี อาการที่พบ ก็จะมีตัวเหลือง ตาเหลือง ซึ่งถึงตอนนั้นอาจจะช้าเกินการรักษา
"การทำให้สุกสะอาดจึงเป็นการตัดวงจรก่อนเกิดโรคซึ่งโดยมากมักละเลยมองข้ามกันไป บางคนอาจโชคดีก็ไม่เกิดอะไร แต่บางคนโชคร้ายหลีกไม่พ้นความเจ็บป่วยเกิดขึ้นมา ส่วนในความรุนแรงของเชื้อโรคตัวนั้นขึ้นอยู่กับภูมิต้านทานของแต่ละคนที่ได้รับเชื้อเข้าไป เชื้อแต่ละชนิดมีความรุนแรงแตกต่างกัน แต่ที่ดีที่สุดควรเลี่ยงอาหารสุกๆ ดิบๆ"
อย่างที่กล่าวมาการปรุงไม่สุกหากทิ้งไว้ข้างนอกนานเชื้อต่างๆ จะเจริญเติบโตในคำว่า สุก หากเป็นอาหารประเภท แกง ต้องเดือดอย่างน้อย 5 นาที ขณะที่อาหารปิ้งย่าง ไม่ควรที่จะมีเนื้อแดงและในการสังเกตดูแลตนเองหากเกิดการท้องเสีย อาเจียนต่อเนื่อง มีไข้ขึ้นควรรีบไปโรงพยาบาลพบแพทย์ แต่ที่เป็นอันตรายระยะยาวต่างจากพวกแบคทีเรีย ไวรัส หากเป็นพวกพยาธิส่วนใหญ่จะเข้าไปอยู่ในตัวจนกระทั่งแพร่กระจายรบกวน การทำงานของร่างกาย ส่วนพยาธิตัวกลมชนิดอื่นมักจะเข้าไปอาศัยอยู่ในลำไส้ทำให้เป็นโรคขาดอาหาร เป็นโรคท้องเสียเรื้อรังได้ ฯลฯ
ก่อนสายเกินแก้ไขการรู้เข้าใจในการบริโภคจึงเป็นสิ่งสำคัญและเมื่อทราบอันตรายการบริโภคอาหารสุกๆ ดิบๆ จึงควรเพิ่มความระมัดระวัง และไม่ว่าจะเป็นอาหารประเภทใดการปรุงสุกสะอาดเข้าไว้ ล้วนช่วยสร้างความปลอดภัยส่งผลดีต่อสุขภาพได้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น